คริปโต เลเยอร์สอง ตัวแก้ไขปัญหาในเรื่องของความเร็วธุรกรรมให้คริปโตเครือข่ายต่างๆ ในระบบที่อาจเคยได้ยินกันมาบ้างใน Lightning Network, Plasma Solution หรือ เหรียญมีมต่างๆ ที่มีค่าธรรมเนียมถูก และโอนเร็ว บทความนี้จึงพูดถึงจุดกำเนิด และประโยชน์ของมันเป็นหลัก ก่อนจะไปแนะนำเหรียญเลเยอร์สองต่างๆ ที่อาจกลับมาพร้อมกับ บิตคอยน์ ฟื้นตัว ช่วงนี้
นี่เป็นเครือข่ายย่อยที่สร้างมาโดยอิงเครือข่ายหลักมาอีกที พัฒนาขึ้นเพื่อแบ่งเบาภาระให้กับ Layer หลักที่ยิ่งมีการรู้จักการธุรกรรมก็หนาแน่นขึ้นจนมีปัญหาการทำธุรกรรมที่ล่าช้า และค่าธรรมเนียมแพง ซึ่งหลักการทำงานก็จะเป็นการมัดรวมธุรกรรมให้อยู่ในข้อมูลชุดเดียว แล้วสรุปไปบันทึกในเครือข่ายหลัก [1] หากจะเปรียบ Layer ก็จะเห็นภาพได้ดังนี้
ดังที่ระบุไปว่าการทำธุรกรรมบนเครือข่ายหลักนั้นมีทั้งค่าธรรมเนียมและระยะเวลาที่ต้องรอไปตามคิว ระบบนี้จึงสร้างมาเพื่อเป็นการทำธุรกรรมให้เร็วขึ้นได้ โดยยึดการกระจายศูนย์ และความปลอดภัยเป็นหลักได้เช่นเดิม เพราะการบันทึกก็ยังถูกบันทึกบนเครือข่ายบล็อกเชนเช่นเดิม โดยนี่ก็คือประโยชน์อื่นๆ ของ Crypto Layer 2
โดยสามารถเสริมประสิทธิภาพของบล็อกเชนได้ แถมยังไม่กระทบเรื่องต่อความปลอดภัยเพราะระบบบันทึกธุรกรรมและแชร์ยังเป็นแบบเดิม ทำให้ธุรกรรมต่างๆ บนบล็อกเชนมีความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น พร้อมยังเป็นโอกาสในการพัฒนาการใช้งานรูปแบบใหม่ๆ และเพิ่มธุรกิจใหม่มากมาย
ด้วยการใช้โอนเงินเข้าประเทศของบางประเทศแล้ว การมาของเลเยอร์สองยังเพิ่มประสิทธิภาพ และแบ่งเบาต้นทุนลงไปเยอะด้วย อย่างค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า ทำให้ผู้ใช้ในวงกว้างสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น โดยเฉพาะรายย่อย
ที่มา: Layer 2 คืออะไร สำคัญกับบล็อกเชนมากแค่ไหน? [1]
บรรดาเหล่าเหรียญคริปโต หรือเหรียญดิจิทัลทั้งหลายล้วนอยู่ในระบบของ Blockchain Network ซึ่งจะมีด้วยกันหลายเครือข่ายแยกกันออกไปคล้ายๆ เซิร์ฟเวอร์ โดย Layer 1 จะเป็นตั้งต้นของระบบเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีรุ่นบุกเบิก จึงไม่ได้สมบูรณ์เพอร์เฟกต์ 100%
ส่วน Layer 2 ก็คือ Version ที่พัฒนาแล้วของ Layer 1 แต่ก็ยังใช้พื้นฐานของระบบเดิมไว้อยู่ แค่ระบบนี้จะเปลี่ยนมุมมองในการโอนเหรียญ จากที่ทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทีละ 15 ครั้งต่อวินาที ก็จะเปลี่ยนเป็นการส่งข้อมูลไปที่เดียว และบันทึกรวดเดียวเป็นพันๆ ครั้งต่อวินาที [2]
โดยในหัวข้อนี้จะเป็นการกล่าวถึง 2 เหรียญที่เป็น คริปโต เลเยอร์สอง ที่เป็นอันดับต้นๆ ในการใช้งาน และมาแรง โดยจะเป็นการอธิบายถึงหลักการทำงาน จุดประสงค์และรายละเอียดอื่นๆ พร้อมตัวอย่างของโครงการสร้างโซลูชันใหม่ของสองเหรียญผู้นำแห่งวงการนี้อย่าง Bitcoin และ Ethereum
โดยโซลูชันสองอย่างที่กำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ ก็เป็นเครือข่ายอีกชั้นที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มความสามารถของแต่ละเหรียญที่ทำงานคนละเครือข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ จากปัญหาที่มีมานาน จนทำให้บล็อกเชนหลายเจ้า รวมถึงที่ BTC เริ่มมีการพัฒนาบล็อกเชน Layer-2 เป็นของตัวเอง
เครือข่ายเลเยอร์สองนี้ อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถทำแลกเปลี่ยน-โอน หรือทำธุรกรรมภายนอกเครือข่ายหลัก โดยไม่ต้องบันทึกการทำธุรกรรมทุกธุรกรรมบนเครือข่าย Bitcoin เพื่อลดภาระของระบบ และจะแยกออกจากเครือข่ายหลักของ BTC แต่ก็จะมี Node เป็นของตัวเอง จึงใช้พลังงานต่ำ สามารถปรับขนาด และการเพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกรรมได้
เครือข่ายนี้ถูกออกแบบให้มีการดำเนินการแบบ Blockchain tree โดยการใช้สัญญา Smart contract และ Merkle trees เปิดให้สามารถสร้างเชนย่อยๆ ออกไปได้อย่างไร้จำกัด ซึ่งช่วยแบ่งเบางานของเชนหลักได้มหาศาล หลายบริษัทจึงสามารถปรับขนาดและออกแบบโครงสร้างได้ตามความต้องการ
ที่มา: บล็อกเชน Layer-2 คืออะไร ? และเหรียญ Crypto ตัวไหนบ้างที่มีบล็อกเชน Layer-2 เป็นของตัวเอง [3]
ในเมื่อไปรู้จักกับโซลูชันหลักๆ ไปแล้ว หัวข้อนี้จึงเป็นการ แนะนำเหรียญที่เป็น เลเยอร์ 2 ที่เป็นสองตัวเทพในโลกคริปโต ที่มีความโดดเด่นทั้งความสามารถ และจุดประสงค์ของแต่ละเหรียญ
Polygon (MATIC)
OMG Network (OMG)
ที่มา: Blockchain Layer 2 คืออะไร ? – เหรียญอะไรน่าลงทุนบ้าง [2]
อีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถพัฒนาระบบธุรกรรมบนบล็อกเชนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยไม่ต้องโปรโมทใดๆ เนื่องจากต้นทุนที่ลดลง และรวดเร็วมากขึ้น จึงสามารถดึงดูดผู้ใช้งานให้เข้าใช้ทางเลือกที่ดีกว่านี้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว และในอนาคตก็อาจมีเลเยอร์สองที่ดีกว่าและรองรับการโอนโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเลยก็ได้
[1] bitkub. (2024). Layer 2 คืออะไร สำคัญกับบล็อกเชนมากแค่ไหน?. Retrieved from bitkub
[2] moneybuffalo. (January 20, 2022). Blockchain Layer 2 คืออะไร ? – เหรียญอะไรน่าลงทุนบ้าง. Retrieved from moneybuffalo
[3] siamblockchain. (June 21, 2023). บล็อกเชน Layer-2 คืออะไร ? และเหรียญ Crypto ตัวไหนบ้างที่มีบล็อกเชน Layer-2 เป็นของตัวเอง. Retrieved from siamblockchain