Avalanche บล็อกเชน เครือข่ายที่มีความสามารถที่โดดเด่น และทำได้ดีกว่า Ethereum บล็อกเชน มากสุดก็ตอนนี้จนกว่าการอัปเกรดครั้งใหญ่ของอีเธอเรียมมา ก็ต้องมาดูกันอีกทีว่าใครจะเก่งกว่ากัน โดยบทความนี้จะพามารู้จักกับ เครือข่ายของอวาลองซ์ที่เป็นอีกตัวเลือกในการทำธุรกรรมสำหรับคนที่ต้องการความเร็ว โดยจะพูดถึงความเป็นมา การทำงาน ก่อนจะนำไปเทียบกับ Ethereum
เครือข่าย หรือบล็อกเชนนี้ถูกสร้างขึ้นเร็วๆ นี้เองในปี 2018 จากการร่วมของ Emin Gün Sirer, Kevin Sekniqi, และ Maofan “Ted” Yin ให้มาเป็น Ava Labs พร้อมการระดมทุนจากแนวคิดที่ว่า Avalanche จะเป็นเครือข่ายที่ทำงานได้เร็ว แถมมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ พร้อมการมีความปลอดภัย ที่สำคัญคือคงความ Decentralization คือกระจายอำนาจ [1]
Emin Gün Sirer หนึ่งในผู้ก่อตั้งเขายังเป็นคนได้ออกแบบพิมพ์เขียวของระบบ Proof of work ในปี 2001 ก่อนบิตคอยน์จะเกิดถึง 6 ปี และยังเป็นรองศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ Cornell University เป็นเวลา 14 ปีก่อนจะมาก่อตั้ง Labs นี้ [2] Avalanche มันจึงเป็น เครือข่ายที่แก้ไขปัญหาการปรับขนาด โดยไม่กระทบกับความเร็วและการกระจายอำนาจเลย จาก 3 ตัวประกอบหลักๆ ที่เป็นบล็อกเชน
แน่นอนว่าจุดเด่นของเชนนี้ก็คือความเร็วในการทำธุรกรรม จากความสามารถในการปรับขนาดได้ แต่นอกจากความเร็วแล้วเครือข่ายนี้ก็ยังมีความสามารถทำได้หลายอย่างด้วยกัน ซึ่งก็จัดอยู่ในเชนเดียวกันกับ Ethereum, Polkadot, Polygon หรือ Solana แต่จุดเด่นที่ทำให้บล็อกเชนนี้แตกต่างออกไปก็คือ
จากข้อมูลข้างต้นที่ว่าเป็นเครือข่ายที่แก้ไขปัญหาการปรับขนาด ซึ่งไม่กระทบความเร็วจาก 3 ตัวประกอบหลักๆ โดย 3 บล็อกเชนนี้ก็เป็นบล็อกเชนที่จะถูกตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบบนเครือข่ายของ Avalanche อีกทีหนึ่ง
ที่มา: Avalanche: Smart Contract Blockchain รูปแบบใหม่? [3]
Consensus Algorithm ที่ได้ระบุไปข้างต้นนั้น ระบบนี้ก็มีการทำงานคล้ายกับโครงสร้างของกลไก Proof-of-Stake ที่ผู้ใช้สามารถเป็น Validator หรือผู้ตรวจสอบได้ผ่านการล็อกเหรียญไว้ ซึ่งกลไกแบบ Snowman ที่พูดถึงไปข้างต้น ก็จะเป็นการสุ่ม Validator ในการตรวจสอบความถูกต้องจากระบบ Directed Acyclic Graph ที่จะสุ่มอย่างนี้ซ้ำๆ จนแน่ใจว่าธุรกรรมนี้ถูกต้อง จากผู้ที่เห็นตรงกันถึง 99%
โดยค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่ใช้เหรียญ AVAX ก็จะถูกเผาอยู่เสมอ เพื่อสร้างระบบนิเวศของเชนนี้ มีความแข็งแกร่ง และยังสามารถคุมการเฟ้อจากการผลิตเหรียญที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งเป็นหลักการรักษามูลค่าเหรียญของหลายๆ บล็อกเชน [1]
ก่อนที่การอัปเกรด Ethereum จะมาถึงที่เชื่อว่าจะเป็นเชนที่ทำธุรกรรมได้เร็วที่สุดในโลก ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ในตอนนี้จึงมีคู่แข่งในด้านการปรับขนาน ให้ธุรกรรมสามารถทำพร้อมๆ กันได้ทีละมากๆ ซึ่งหนึ่งในคู่แข่งขันตัวฉกาจก็คือ Avalanche เชน โดยหัวข้อนี้ก็จะมาเปรียบเทียมการทำงานและความสามารถต่างๆ ของสองเหรียญนี้
ที่มา: Avalanche Vs. Ethereum – What’s the Difference? [4]
สำหรับราคาเหรียญนี้ในปัจจุบันมีราคาอยู่ที่ 31.58 ดอลลาร์ หรือราว 1,159.79 บาท ลดลงมาจาก 1196 บาท ในช่วง 1 วันที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่าตลาดที่ 456.16 พันล้าน ปริมาณซื้อขาย 14.58 พันล้านบาท ซึ่งมีจำนวน Supply สูงสุดที่ 715.75 ล้าน AVAX ขณะนี้ยังมีเกือบครึ่งหนึ่ง
และจากการคาดการณ์ราคา ก็ยังเป็นหัวข้อที่มุมมองมีความแตกต่างกันมาก ตามการคาดการณ์ราคาจากข้อมูลในอดีตและการวิเคราะห์ทางเทคนิค มีการสันนิษฐานว่าราคา AVAX อาจสูงถึง $55 ในสิ้นปีนี้ อาจแตะ 90 ดอลลาร์ใน 2026 จากการใช้งานและการรักษามูลค่าจากการเบิร์น ที่ยิ่งมีการใช้งานก็ยิ่งส่งผลดีของราคา [2]
บล็อกเชนที่เป็นคู่แข่งกับเชนหลายๆ ตัว ซึ่งมีจุดเด่นที่ดีกว่าครึ่งๆ กลางๆ ดีกว่าหลายเชน และก็ด้อยกว่าหลายๆ เชนในด้านอื่นเช่นกัน แต่ก็ถึงว่าเป็นตัวเลือกที่สำคัญสำหรับ การทำ dApp ที่มีการทำธุรกรรมที่เร็วกว่า แถม App จาก Ethereum ยังสามารถรันบนเชนนี้ได้ด้วย
[1] bitkubacademy. (February 1, 2022). Avalanche (AVAX) คืออะไร?. Retrieved from bitkubacademy
[2] mitrade. (September 26, 2023). Avalanche (AVAX Coin) คืออะไร?น่าลงทุนไหมในปี 2023?. Retrieved from mitrade
[3] finnomena. (August 9, 2022). Avalanche: Smart Contract Blockchain รูปแบบใหม่?. Retrieved from finnomena
[4] securities.io. (February 8, 2024). Avalanche Vs. Ethereum – What’s the Difference?. Retrieved from securities.io