line-Betdog

เหรียญดิจิทัล CBDC เงินบาทแบบใหม่ในรูปแบบ Digital Currency

พฤษภาคม 2, 2024
เหรียญดิจิทัล CBDC

เหรียญดิจิทัล CBDC เหรียญหรือเงินในรูปแบบดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง ที่หลายประเทศกำลังพัฒนา และลองใช้อยู่ ซึ่งในประเทศไทยเองก็เช่นกันที่ทางธนาคารกลางหรือ ธปท. ได้ออกเหรียญ CBDC ในโครงการอินทนนท์ บทความนี้จึงขอพาไปดูความเป็นมา จุดเริ่มต้น และไปดูโครงการทดสอบในบางขุนพรหม

ความเป็นมาของโครงการ เหรียญดิจิทัล CBDC

เริ่มจากการมองเห็นความสำคัญของการมาของคริปโต และการออกเหรียญนี้ยังสามารถควบคุมได้ จากการเป็นสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง พูดง่ายๆ ก็คือเงิน fiat เวอร์ชันดิจิทัล และก็ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลให้ออกโดยธนาคารกลาง โดยจะให้มูลค่าของเหรียญผูกติดกับเงินในสกุลประเทศนั้นอารมณ์แบบ เหรียญ Stablecoin ซึ่งก็ทำแล้วในหลายประเทศที่เงินแข็งแรง [1]

  • สำหรับไทยเอง ก็ได้ริเริ่มโครงการแล้วตั้งแต่ปี 2022 กับเหรียญอินทนนท์ตามชื่อเขาที่สูงที่สุดในประเทศ  และตามมาด้วยการออกโครงการศึกษาการใช้เงินดิจิทัลในภาคประชาชนที่ชื่อว่า “โครงการบางขุนพรหม”
  • เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศนั้น เพื่อยกระดับการชำระเงินต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยิ่งไทยเองก็เป็นประเทศที่มีการชำระเงินรวดเร็วอยู่แล้ว 
  • เป็นเหรียญที่รองรับการเขียนโปรแกรมเข้าไปได้ โดยกำหนดเงื่อนไข หรือโค้ดอันซับซ้อนลงไปได้ ช่วยให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถนำนวัตกรรมมาผนวกเข้ากับเหรียญนี้ได้ง่ายๆ

Libra แรงกระตุ้นที่ทำให้หลายประเทศ เริ่มโครงการนี้

Libra หรือที่ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น Diem อีกหนึ่งเหรียญดิจิทัลที่เป็นโครงการนำร่องในปี 2020 เป็น Stablecoin ที่ใช้เงิน Fiat มาค้ำ เพื่อให้เป็นเงินดิจิทัลที่มีความน่าเชื่อถือทัดเทียมกับ CBDC ดังนั้นนี้จึงเป็นตัวกระตุ้นสำคัญ ของภาคการเงินแบบดั้งเดิมอย่างธนาคารในประเทศต่างๆ ต้องเร่งปรับตัวครั้งใหญ่ก่อนที่จะถูกยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยี แย่งชิงพื้นที่นี้ไปก่อน [2]

2 ระบบการทำงานของ Diem

  • Multi-currency-backed Stablecoin การสร้างเหรียญ ด้วยการนำเงินตราหลายสกุลในตลาดโลกที่สำคัญๆ โดยเฉพาะสกุลเงินจากประเทศมหาอำนาจมาค้ำประกันมูลค่าไว้ อย่างดอลลาร์สหรัฐ, ยูโร และเงินหยวน โดยเป็นระบบตั้งต้นที่ผู้บริหาร Libra นำเสนอไว้แรกๆ
  • Single-currency-backed Stablecoin ก็เป็นการสร้างเหรียญตามชื่อระบบคือ จะมีสกุลเงินมาค้ำประกันแค่สกุลเดียว ในอัตราส่วน 1:1 โดยหลักๆ ก็จะใช้ เงินดอลลาร์สหรัฐ เหรียญ Libra จะมีมูลค่าอยู่ที่ 1 LibraUSD แนวคิดนี้เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2020 เพื่อลดขนาดของโครงการลง

ที่มา: เงินสกุลดิจิทัลของธนาคารกลาง: ความท้าทายใหม่ของธนาคารพาณิชย์ [2]

ประเทศต่างๆ ที่เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2022 แล้ว

โดยหลังจากที่ Libra ก็มีทั้งประเทศที่พัฒนามาก่อน และประเทศที่ไหวตัวเริ่มสร้างเหรียญ CBDC กันมากขึ้น ซึ่งไม่ได้เป็นแค่สร้างให้ทัน Libra แต่ยังเป็นการเร่งผลิตเพื่อตามให้ทันการเงินแบบกระจายอำนาจ ที่ทั้งรัฐบาลและธนาคารกลางไม่ชอบ แต่มีเพียงประเทศมหาอำนาจมีการเริ่มต้นและพัฒนาได้รวดเร็วกว่าประเทศอื่นๆ โดยได้แก่ประเทศดังนี้

  • จีน E-CNY นับเป็นสกุลเงินดิจิทัลแรกของโลกที่ใช้งานได้จริงในระดับประชาชน ทดสอบครั้งแรกเมื่อปี 2019 ในเมืองเซินเจิ้น ต่อมาด้วยแรงกระเพื่อมใหญ่ก็มีการใช้งานดิจิทัลหยวนในอีก 6 พื้นที่ จนในที่สุดเมื่อปี 2022 ก็ใช้งานอย่างจริงจังในย่านเศรษฐกิจของประเทศเลย จีนยังมีแผนขยายต่อ และพัฒนาให้เป็น Stablecoin แบบรวมศูนย์ใช้ในโลก สำหรับการโอนเงินข้ามประเทศ
  • ฝรั่งเศส ยูโรดิจิทัล โดยอนุมัติ และเริ่มโครงการในปี 2022 ร่วมกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ก่อนจะเริ่มทดลองใช้จริงในปี 2023 ที่ผ่านมา ในระยะที่ 2 โดยเป็นการรักษาบทบาทการเงินของธนาคารกลางในระบบเศรษฐกิจประเทศฝรั่งเศส ให้ยังสามารถกำกับดูแลได้
  • อังกฤษ Britcoin กำหนดจะหารือร่วมกันในปี 2022 และเริ่มต้นพัฒนาพร้อมทดสอบในรอบแรกในปีนั้นเลย ผลลัพธ์ออกมาล้วนเป็นเชิงบวกและเป็นที่น่าพึงพอใจ ซึ่งมุ่งเน้นไปในรายย่อยกับภาคประชาชน โดยระยะที่ 2 ในปี 2023 ที่สามารถทำค่าธรรมเนียมได้ถูกลง และมีประสิทธิภาพมากขึ้นอาจจะเป็นการลดบทบาทของธนาคารแต่ Britcoin ก็ไม่ได้มาแทนที่เงินสดแน่นอน
  • สหรัฐฯ ดิจิทัลดอลลาร์ เงินดิจิทัลที่เป็นแบบ account-based ซึ่งทำให้ธนาคารกลางของสหรัฐฯ สามารถรู้ถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือเหรียญนี้ได้ ซึ่งได้มีการแจกจ่ายในปี 2022 โดยให้ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้แจกจ่ายเงินดิจิทัลดอลลาร์สู่ประชาชน
  • สหพันธรัฐรัสเซีย ดิจิทัลรูเบิล พัฒนาทั้งเหรียญออนไลน์และออฟไลน์ที่เน้นความสามารถในการโอนเงินระหว่างประเทศได้ เพื่อลดตัวกลางอย่างยูโรหรือดอลลาร์ลงได้ ซึ่งการใช้งานรูเบิลดิจิทัลเต็มรูปแบบคาดว่าจะพร้อมใช้ในปี 2025 ซึ่งชำระซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ภายในประเทศได้แบบเงินสด

ที่มา: ส่อง 5 ประเทศมหาอำนาจ เดินหน้าพัฒนา “สกุลเงินดิจิทัล” [3]

รายละเอียด เหรียญดิจิทัล CBDC ในโครงการบางขุนพรหม

โครงการการทดสอบการใช้ Central Bank Digital Currency ที่จะเป็นการทดลองแรกของ CBDC ในประเทศไทยให้ในวงประชาชนรายย่อย ในพื้นที่บางขุนพรหม เพื่อใช้ประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระดับประชาชน โดยมีการคัดเลือกและทดลองไปแล้ว กับกลุ่มผู้ใช้งานประมาณ 10,000 ราย

  • คัดเลือกผู้ให้บริการภาคเอกชนได้ 3 ราย ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัท ทูซีทูพี
  • ระยะเวลาทดสอบเริ่มในช่วงปลายปี 2565 จนถึงไตรมาส 3 ปี 2566
  • จำกัดร้านค้าในพื้นที่เฉพาะที่กำหนดโดย ธปท.กับ 3 บริษัทที่ร่วมทดสอบ

ที่มา: โครงการบางขุนพรหม [4]

ความแตกต่างของ CBDC กับ Cryptocurrency

โดยถึงแม้ว่า CBDC จะเป็นเหมือนพวกเหรียญสกุลเงินดิจิทัล แต่หากจะพูดว่าเป็น Cryptocurrency ก็คงพูดได้ไม่เต็มปาก โดยความแตกต่างสำคัญๆ ก็มีอยู่ไม่มากแต่เป็นลักษณะเด่นที่ตรงกันข้ามเลยคือ การกระจายอำนาจ ไม่มีตัวกลางคอยควบคุม และมีความน่าเชื่อถือในตัวมันเองจากการใช้งานใน Blockchian ที่จะบันทึกธุรกรรมเอง ซึ่งมูลค่าก็จะขึ้นอยู่กับความต้องการเหรียญนั้นๆ 

ในขณะที่ Central Bank Digital Currency จะเป็นการออกเหรียญ และควบคุมโดยธนาคารกลาง และสนับสนุนโดยรัฐบาล ซึ่งในการใช้งานก็จะรู้จักผู้ใช้ว่าเป็นใคร และในการบันทึกธุรกรรม ธนาคารกลางก็จะเก็บข้อมูลเอาไว้ อาจปลอดภัยต่อการนำไปใช้ผิดๆ และมีความเชื่อถือโดยรัฐบาล มูลค่าก็จะขึ้นลงตามเงินที่นำไปค้ำ [1]

ข้อดีและข้อเสียของเหรียญ CBDC

ซึ่งนอกจากที่ทางเหรียญ CBDC กับคริปโตจะมีความแตกต่างกันแล้วในเรื่องของ การรวมอำนาจ แถมยังมีจุดประสงค์ ข้อดี ข้อเสียอื่นๆ ประกอบด้วย โดยก็เป็นข้อได้เปรียญและเสียเปรียบตามแต่ละสถานการณ์

ข้อดี

  • การชำระเงินมีประสิทธิภาพและปลอดภัยรับรองและรับผิดชอบโดยธนาคารกลาง
  • ใช้งานง่ายๆ ผ่านธนาคารกลางโดยตรง และติดตามได้ง่าย
  • ลดความเสี่ยงจากการล่มสลายของธนาคารพาณิชย์

ข้อเสีย

  • ถูกควบคุมโดยธนาคารกลางอย่างสมบูรณ์
  • ความเป็นส่วนตัวน้อยลง
  • เกิดการแข่งขันระหว่างธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์
  • อาจไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับในวงกว้างและระยะยาว

ที่มา: สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) และความแตกต่างกับคริปโทเคอร์เรนซี [1]

สรุป เหรียญดิจิทัล CBDC คริปโตในแบบ Centralized

เหรียญดิจิทัล CBDC

อีกหนึ่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินที่เข้าใกล้มากขึ้นเรื่อยๆ จะเรื่องเฉพาะกลุ่ม เรื่องการลงทุน มายังการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังหารือ และเริ่มพัฒนาตามๆ กันมาหลายประเทศ

อ้างอิง

[1] efinancethai. (June 9, 2022). สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) และความแตกต่างกับคริปโทเคอร์เรนซี. Retrieved from efinancethai

[2] krungsri. (November 16, 2022). เงินสกุลดิจิทัลของธนาคารกลาง: ความท้าทายใหม่ของธนาคารพาณิชย์. Retrieved from krungsri

[3] กรุงเทพธุรกิจ. (September 25, 2022). ส่อง 5 ประเทศมหาอำนาจ เดินหน้าพัฒนา “สกุลเงินดิจิทัล”. Retrieved from bangkokbiznews

[4] ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2023-2024). โครงการบางขุนพรหม. Retrieved from bot

ชายผู้ที่จะสัมผัสทุกเว็บพนันในโลก ด้วยการ งมจากกูเกิ้ลแหล่งที่ทุกเว็บจะมารวมกันราวกับออลบูล แล้วพาทุกท่านไปพิสูจน์ร่วมกัน
คาสิโนออนไลน์
SEXY BACCARAT
SA GAMING
WM CASINO
PG SLOT
JOKER GAME
โปรโมชั่น
สมาชิกใหม่รับโบนัส
แตกแจกเพิ่ม
ฝากแรกของวัน
กงล้อลุ้นโชค
ขาประจำ
ติดต่อเรา
LINE OA
TELEGRAM
แจ้งปัญหา
Betdog-LogoLINE ID : @BETDOGBetdog-line
Betdog-bank
Copyright © 2023 Supported by BETDOG
Betdog-LogoLINE ID : @BETDOGBetdog-lineBetdog-bankCopyright © 2023 Supported by BETDOG
Betdog-Homeหน้าหลักBetdog-Promotionโปรโมชั่นBetdog-mobileBetdog-RegisterสมัครสมาชิกBetdog-Eventกิจกรรม