เหรียญดิจิทัล CBDC เหรียญหรือเงินในรูปแบบดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง ที่หลายประเทศกำลังพัฒนา และลองใช้อยู่ ซึ่งในประเทศไทยเองก็เช่นกันที่ทางธนาคารกลางหรือ ธปท. ได้ออกเหรียญ CBDC ในโครงการอินทนนท์ บทความนี้จึงขอพาไปดูความเป็นมา จุดเริ่มต้น และไปดูโครงการทดสอบในบางขุนพรหม
เริ่มจากการมองเห็นความสำคัญของการมาของคริปโต และการออกเหรียญนี้ยังสามารถควบคุมได้ จากการเป็นสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง พูดง่ายๆ ก็คือเงิน fiat เวอร์ชันดิจิทัล และก็ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลให้ออกโดยธนาคารกลาง โดยจะให้มูลค่าของเหรียญผูกติดกับเงินในสกุลประเทศนั้นอารมณ์แบบ เหรียญ Stablecoin ซึ่งก็ทำแล้วในหลายประเทศที่เงินแข็งแรง [1]
Libra หรือที่ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น Diem อีกหนึ่งเหรียญดิจิทัลที่เป็นโครงการนำร่องในปี 2020 เป็น Stablecoin ที่ใช้เงิน Fiat มาค้ำ เพื่อให้เป็นเงินดิจิทัลที่มีความน่าเชื่อถือทัดเทียมกับ CBDC ดังนั้นนี้จึงเป็นตัวกระตุ้นสำคัญ ของภาคการเงินแบบดั้งเดิมอย่างธนาคารในประเทศต่างๆ ต้องเร่งปรับตัวครั้งใหญ่ก่อนที่จะถูกยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยี แย่งชิงพื้นที่นี้ไปก่อน [2]
2 ระบบการทำงานของ Diem
ที่มา: เงินสกุลดิจิทัลของธนาคารกลาง: ความท้าทายใหม่ของธนาคารพาณิชย์ [2]
โดยหลังจากที่ Libra ก็มีทั้งประเทศที่พัฒนามาก่อน และประเทศที่ไหวตัวเริ่มสร้างเหรียญ CBDC กันมากขึ้น ซึ่งไม่ได้เป็นแค่สร้างให้ทัน Libra แต่ยังเป็นการเร่งผลิตเพื่อตามให้ทันการเงินแบบกระจายอำนาจ ที่ทั้งรัฐบาลและธนาคารกลางไม่ชอบ แต่มีเพียงประเทศมหาอำนาจมีการเริ่มต้นและพัฒนาได้รวดเร็วกว่าประเทศอื่นๆ โดยได้แก่ประเทศดังนี้
ที่มา: ส่อง 5 ประเทศมหาอำนาจ เดินหน้าพัฒนา “สกุลเงินดิจิทัล” [3]
โครงการการทดสอบการใช้ Central Bank Digital Currency ที่จะเป็นการทดลองแรกของ CBDC ในประเทศไทยให้ในวงประชาชนรายย่อย ในพื้นที่บางขุนพรหม เพื่อใช้ประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระดับประชาชน โดยมีการคัดเลือกและทดลองไปแล้ว กับกลุ่มผู้ใช้งานประมาณ 10,000 ราย
ที่มา: โครงการบางขุนพรหม [4]
โดยถึงแม้ว่า CBDC จะเป็นเหมือนพวกเหรียญสกุลเงินดิจิทัล แต่หากจะพูดว่าเป็น Cryptocurrency ก็คงพูดได้ไม่เต็มปาก โดยความแตกต่างสำคัญๆ ก็มีอยู่ไม่มากแต่เป็นลักษณะเด่นที่ตรงกันข้ามเลยคือ การกระจายอำนาจ ไม่มีตัวกลางคอยควบคุม และมีความน่าเชื่อถือในตัวมันเองจากการใช้งานใน Blockchian ที่จะบันทึกธุรกรรมเอง ซึ่งมูลค่าก็จะขึ้นอยู่กับความต้องการเหรียญนั้นๆ
ในขณะที่ Central Bank Digital Currency จะเป็นการออกเหรียญ และควบคุมโดยธนาคารกลาง และสนับสนุนโดยรัฐบาล ซึ่งในการใช้งานก็จะรู้จักผู้ใช้ว่าเป็นใคร และในการบันทึกธุรกรรม ธนาคารกลางก็จะเก็บข้อมูลเอาไว้ อาจปลอดภัยต่อการนำไปใช้ผิดๆ และมีความเชื่อถือโดยรัฐบาล มูลค่าก็จะขึ้นลงตามเงินที่นำไปค้ำ [1]
ซึ่งนอกจากที่ทางเหรียญ CBDC กับคริปโตจะมีความแตกต่างกันแล้วในเรื่องของ การรวมอำนาจ แถมยังมีจุดประสงค์ ข้อดี ข้อเสียอื่นๆ ประกอบด้วย โดยก็เป็นข้อได้เปรียญและเสียเปรียบตามแต่ละสถานการณ์
ข้อดี
ข้อเสีย
ที่มา: สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) และความแตกต่างกับคริปโทเคอร์เรนซี [1]
อีกหนึ่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินที่เข้าใกล้มากขึ้นเรื่อยๆ จะเรื่องเฉพาะกลุ่ม เรื่องการลงทุน มายังการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังหารือ และเริ่มพัฒนาตามๆ กันมาหลายประเทศ
[1] efinancethai. (June 9, 2022). สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) และความแตกต่างกับคริปโทเคอร์เรนซี. Retrieved from efinancethai
[2] krungsri. (November 16, 2022). เงินสกุลดิจิทัลของธนาคารกลาง: ความท้าทายใหม่ของธนาคารพาณิชย์. Retrieved from krungsri
[3] กรุงเทพธุรกิจ. (September 25, 2022). ส่อง 5 ประเทศมหาอำนาจ เดินหน้าพัฒนา “สกุลเงินดิจิทัล”. Retrieved from bangkokbiznews
[4] ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2023-2024). โครงการบางขุนพรหม. Retrieved from bot