ลงทุนกับตราสารหนี้ เป็นอีกหนึ่งช่องทางของการลงทุน ตราสารหนี้ ที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างคงตัว มีความเสี่ยงน้อยกว่าหุ้นทั่วไป ในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านมารู้จัก ตราสาร ชนิดต่างๆ พร้อมแนวทางสำหรับ ลงทุนตราสารหนี้
ตราสารหนี้ (Debt Instruments) เป็นตราสารที่ออกให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ที่ซื้อ และครอบครองตราสาร จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ส่วนผู้ที่ออกตราสาร จะมีสถานะเป็นลูกหนี้ [1] กระบวนการออกตราสารหนี้ มีดังนี้
ลงทุนกับตราสารหนี้ กับภาครัฐบาล จะมีความเสี่ยงที่ต่ำมาก เทียบเท่าการฝากเงินในธนาคาร โดยตราสารหนี้จากภาครัฐ หมายถึงตราสารที่ทางรัฐเป็นผู้ออก เพื่อระดมเงินทุนจากประชาชน สำหรับเป็นเงินทุนเพื่อพัฒนาประเทศ ต่อยอด ชำระหนี้ หมุนเวียน หรือสร้างผลกำไรในอนาคต
ตราสารหนี้ที่รัฐบาลออกคือ พันธบัตรรัฐบาล (Government Bonds) เปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าซื้อได้ พันธบัตรรัฐบาลนี้ ถูกกำหนดระยะเวลาการถือ พร้อมกับดอกเบี้ยที่ได้รับ เมื่อถือจนครบอายุ บางพันธบัตรจะมีผลตอบแทนพิเศษ อย่างการจับฉลากเงินรางวัลด้วยเช่นกัน
พันธบัตรรัฐบาลจะให้อัตราผลตอบแทน หรือดอกเบี้ยที่มากกว่า การฝากเงินในธนาคาร เล็กน้อย ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 2.5-3.5% มีความเสี่ยงที่น้อยกว่าการลงทุนประเภทอื่นๆ
ตัวอย่าง พันธบัตรรัฐบาลออมทรัพย์
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย [2]
ลงทุนกับตราสารหนี้ กับพันธบัตรรัฐบาล ก็มีจุดเด่น หรือข้อดีของการลงทุนดังนี้
จุดเด่นหลักๆของพันธบัตรรัฐบาล ก็คือความเสี่ยงที่น้อย และผลตอบแทนที่ตายตัว เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยงใดๆ ผู้ที่ไม่มีเวลาศึกษาหุ้น และต้องการรักษามูลค่าของเงินไม่ให้สูญหาย ไปตามอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
ลงทุนกับตราสารหนี้ กับพันธบัตรรัฐบาล ก็มีจุดที่เป็นข้อด้อย หรือเป็นข้อเสียเช่นกันดังนี้
ข้อเสียของพันธบัตรรัฐบาล ถือว่าให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างน้อยมาก เมื่อเทียบกับการลงทุนประเภทอื่น รวมถึงหากในปีนั้น มีอัตราเงินเฟ้อที่สูง ก็จะหมายถึงไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้เลย
ลงทุนกับตราสารหนี้ กับบริษัท จะแตกต่างกับพันธบัตรรัฐบาล หากบริษัทเป็นผู้ออกตราสารหนี้ เราจะเรียกตราสารนั้นว่า หุ้นกู้ (Debenture) เพื่อเป็นการระดมเงินสำหรับใช้หมุนเวียน ทำกำไรในธุรกิจ ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้มา
หุ้นกู้ สามารถดำเนินการซื้อขายได้ผ่านทางธนาคารในประเทศไทย หุ้นกู้มีราคาซื้อที่ถูกที่สุดคือ หน่วยละ 100 บาท มีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล และก็มีความเสี่ยงที่สูงมากขึ้นตามเช่นเดียวกัน
ลงทุนกับตราสารหนี้ กับหุ้นกู้ ก็มีจุดที่โดดเด่นดังต่อไปนี้
หุ้นกู้ มีจุดเด่นในเรื่องผลตอบแทนที่สูงขึ้น รวมถึงมีหลากหลายประเภทให้เลือกลงทุน ซึ่งสามารถใช้เป็นทางเลือก รวมถึงใช้เพื่อการกระจายความเสี่ยงของเราได้
ลงทุนกับตราสารหนี้ กับหุ้นกู้ ก็มีจุดด้อยอยู่เช่นเดียวกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ผลตอบแทนที่มากขึ้น ก็ต้องแลกมากับความเสี่ยงที่มากขึ้นตาม หุ้นกู้จึงมีผลเสียทั้งในด้านผลตอบแทนที่ไม่ได้สูงมาก และผู้ซื้อต้องแบกรับความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้นตลอดเวลาได้
ลงทุนกับตราสารหนี้ ในหัวข้อนี้ จะเป็นตัวอย่างรายชื่อ ตราสารหนี้ ที่เปิดให้นักลงทุนสามารถเข้าไปซื้อขายได้ เราจะแยกประเภทออกไปอีกเป็น 2 ประเภท คือ ตราสารหนี้แบบหุ้นกู้ และ กองทุนตราสารหนี้
ลงทุนกับตราสารหนี้ แบบหุ้นกู้ ก็คือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทต่างๆ ถูกกำหนดระยะเวลาซื้อขายเอาไว้อย่างชัดเจน เราก็ได้หยิบยกตัวอย่างตราสารหนี้ ในประเทศไทย ที่กำลังมีการซื้อขาย หรือใกล้จะเปิดให้ซื้อขายมาเพียงบางตัวอย่าง ดังนี้
อายุสัญญาของหุ้นกู้ 2 ปี ให้อัตราดอกเบี้ยที่ 7.30% ต่อปี มีการจ่ายดอกเบี้ยในทุกๆ 3 เดือน เปิดให้ซื้อในวันที่ 23-25 เมษายน 2567
อ่านรายละเอียดของหุ้นกู้ เพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เจ้าพระยามหานคร จำกัด (มหาชน) (CMC)
อายุสัญญาของหุ้นกู้ 2 ปี กับอีก 6 เดือน ให้อัตราดอกเบี้ยที่ 7.10% ต่อปี มีการจ่ายดอกเบี้ยในทุกๆ 3 เดือน เปิดให้ซื้อในวันที่ 22-24 เมษายน 2567
อ่านรายละเอียดของหุ้นกู้ เพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (MJD)
อายุสัญญาของหุ้นกู้ 1 ปี ให้อัตราดอกเบี้ยที่ 4.75% ต่อปี มีการจ่ายดอกเบี้ยในทุกๆ 3 เดือน เปิดให้ซื้อในวันที่ 18-19 และ 22 เมษายน 2567
อ่านรายละเอียดของหุ้นกู้ เพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DAOLS)
ลงทุนกับตราสารหนี้ กับกองทุนตราสารหนี้ จะเป็นการระดมเงินทุน เพื่อนำมาลงทุนในตราสารหนี้ ผ่านกองทุนรวม โดยจะมีผู้บริการกองทุนที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญ เป็นอีกหนึ่งการลงทุนทางเลือก สำหรับผู้ที่สนใจในหุ้นกู้ แต่ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญนัก
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ตราสารหนี้ระยะสั้นต่างประเทศ เป็นกองทุนตราสารหนี้ ที่ให้ผลตอบแทนไม่แน่นอน ตามรายได้ที่กองทุนสามารถทำได้ มูลค่าการซื้อครั้งแรก และครั้งถัดไปขั้นต่ำ 1,000 บาท
อ่านรายละเอียดของกองทุนตราสารหนี้เพิ่มเติมได้ที่ SCBFST
กองทุนเปิด ทิสโก้ ยูเอส ตราสารหนี้ระยะสั้น เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนไปที่ SPDR Bloomberg 1-3 Month T-Bill ETF เป็นหลัก มูลค่าการซื้อครั้งแรก และครั้งถัดไปขั้นต่ำ 1,000 บาท
อ่านรายละเอียดของกองทุนตราสารหนี้ เพิ่มเติมได้ที่ TUSFIX
กองทุนเปิดกรุงไทยอ้างอิงเงินเฟ้อ เป็นกองทุนที่มีการลงทุนทั้งในไทย และในต่างประเทศ โดยเฉพาะตราสารหนี้ของภาครัฐบาล มูลค่าการซื้อครั้งแรก และครั้งถัดไปขั้นต่ำ 1,000 บาท
อ่านรายละเอียดของกองทุนตราสารหนี้ เพิ่มเติมได้ที่ KTILF
ตราสารหนี้ก็ถูกแบ่งประเภทย่อยออกไป มีทั้งจุดเด่น และจุดด้อยแตกต่างกัน ตราสารหนี้นี้ ยังเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการรักษามูลค่าของเงิน ไม่ให้สูญเสียตามเงินเฟ้อ รวมถึงการทำกำไรที่มีความเสี่ยงไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับหุ้นชนิดอื่น
[1] Bond. (2023-2024). วางแผนลงทุนกับตราสารหนี้. Retrieved from oic
[2] BOT. (2024). พันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง 2567. Retrieved from bot
[3] Krungsri. (2017-2024). ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลดีอย่างไร. Retrieved from krungsri
[4] Krungthai. (January 8, 2024). อัตราเงินเฟ้อ. Retrieved from krungthai