ชาหอมหมื่นลี้ หนึ่งในชาดอกไม้ของแผ่นดินจีน ที่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ยุคแรกเริ่ม เป็นชาดอกไม้สีเหลืองทอง ที่มีความหอมเป็น 1 ความอร่อยเป็นรอง และความละมุนกลมกล่อม ไม่แพ้ชาจีนใดๆ สามารถจิบทานได้ตลอดทุกช่วงเวลา ที่สำคัญราคาดีไม่แพง และยังมีสารมีเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ค่อนข้างเยอะพอสมควร
ชาหอมหมื่นลี้ หรือ ชาดอกหอมหมื่นลี้ [1] เป็นชาดอกไม้แห่งรัตติกาล ราคาจับต้องได้ ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความหอมละมุน มีกลิ่นอายดอกไม้สีเหลืองทองอร่าม และดอกไม้สีขาวนวลบริสุทธิ์ที่ชัดเจน ความหอมเป็นธรรมชาติ สะอาด และสมบูรณ์แบบ อีกทั้ง ยังอัดแน่นไปด้วยสรรพคุณ ด้านร่างกาย ความสวยความงาม และผิวพรรณที่ผุดผ่อง ชราได้ช้าลงอีกด้วย
หอมหมื่นลี้ หรือ ต้นหอมหมื่นลี้ [2] นั้นเป็นต้นไม้ที่เติบโต บานสะพรั่ง และส่งกลิ่นหอมมากในฤดูหนาว ท่ามกลางหิมะ เป็นต้นไม้จากประเทศจีน ที่ได้รับความนิยมมาก ภาษาจีนเรียก “ ดอกกุ้ยฮวา ” ซึ่งประเทศไทยก็ได้นำเข้ามาเพาะปลูกเช่นกัน สามารถพบเห็นได้ที่ภาคเหนือ
โดยจะมีทั้งหมด 2 สายพันธ์ุฮิตๆ ที่เพาะปลูก นั่นก็คือ พันธ์ุดอกเล็กสีขาว และพันธุ์ดอกเล็กสีเหลือง [3] ลักษณะของดอกและใบ ค่อนข้างจะหนา ต้นโตช้า ออกดอกน้อย กลิ่นหอมไกลและยาวนาน
สำหรับ ชาหอมหมื่นลี้ สายพันธ์ุที่นิยมนำ ดอกแห้ง มาทำชาสะส่วนใหญ่จะเป็น สายพันธุ์สีเหลืองอร่ามดอกเล็ก โดยจะมีการคัดดอก ที่มีคุณภาพ ดอกใหญ่สุด นำมาตาก อบแห้ง และผ่านกระบวนการต่างๆ หลายขั้นตอนหลายวิธี เพื่อให้ได้ ชาดอกหอมหมื่นลี้ ที่มีคุณภาพและตรงตามมาตรฐานของผู้ผลิต
สาเหตุที่เลือกเป็น สายพันธุ์ดอกสีเหลืองนั้น ก็เพราะว่า คนจีนในสมัยโบราณ เชื่อกันว่า ดอกไม้สีทองนั้น เป็นดอกไม้ที่ใช้สื่อถึง ความมั่งคั่งร่ำรวย และเป็นสีของกษัตริย์ จะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข บ้านเมืองมีแต่ความเจริญ และที่สำคัญดอกกุ้ยฮวา หรือดอกหอมหมื่นลี้สีเหลืองนั้น ยังมีกลิ่นและรสชาติ ที่โดดเด่นมากกว่าดอกสีขาวนวลอีกด้วย
นอกจากใช้จะนิยม นำดอกไม้แห้งหอมหมื่นลี้ มาทำชาแล้ว ดอกไม้ชนิดนี้ ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย อาทิเช่น
ชาหอมหมื่นลี้ เป็นชาดอกไม้สีเหลืองทองใส ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนทางตอนเหนือ เนื่องด้วย ดอกไม้ชนิดนี้ มักจะชอบภูมิอากาศที่หนาวเย็น พร้อมกับเติบโต ที่ส่งกลิ่นหอมได้ไกลมากกว่าหลายหมื่นลี้ ท่ามกลางหิมะ ทำให้คนจีนนิยมนำดอกไม้แห้ง มาทำเป็นชา
[1] TEA VILLAGE. (2011-2024). ชาดอกหอมหมื่นลี้. Retrieved from tea-village
[2] SUKOLDHA. (January 21, 2023). หอมหมื่นลี้. Retrieved from sukoldha
[3] ACCL CMU. (February 23, 2021). ดอกหอมหมื่นลี้. Retrieved from accl.cmu