แอปดูดเงิน หรือ แอปหลอกโอนเงิน นวัตกรรมใหม่ของมิจฉาชีพที่เป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมาก ทั้งในอินเตอร์เน็ต และตามข่าวช่องต่างๆ ซึ่งจากที่ดู และฟังมาก็น่ากลัวมากสำหรับผู้ใหญ่ ที่นำเสนอว่า เพียงแค่โทรก็ถูกดูดเงินได้ หรือไม่ก็เชื่อมเสียบสายทิ้งไว้เงินก็หายเลย แต่ทางเทคนิคแล้วนี่น่า จะดูเกินจริงไปมากที่สื่อจะนำมานำเสนอ ซึ่งตามเทคนิคอาจต้องมีอะไรที่มากกว่านั้น ก่อนจะถูกโอนได้
แอปที่มิจฉาชีพ ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อดูดเงินตรงๆ แต่เจ้าแอปตัวร้ายนี้ จริงๆ เป็นแอปพลิเคชั่นที่ควบคุมมือถือได้หลังจากที่หลอกให้เหยื่อติดตั้งแอป ตั้ง pin สแกนหน้า และกดยอมรับการเข้าถึงสำเร็จ จะเป็นได้ว่ามีหลายขั้นตอนมากกว่าจะ เข้าไปดูดเงินได้ แอปนี้จึงไม่ใช้แฮก แต่ต้องใช้การล่อหลอกด้วยคำพูดมากกว่า เพื่อให้เหยื่อทำตามถึง 3-4 ขั้นตอนนี้แบบไม่เอะใจ
โดยแอปนี้ที่สร้างมาจะเป็นแอปที่ทำหน้าที่ ควบคุมหน้าจอ (remote control) โดยล็อกหน้าจอ และเข้าแอปธนาคารแล้วโอนเงินทั้งหมด หลังจากเหยื่อที่กด “ยินยอมการเข้าถึง” ได้เท่านั้น ระหว่างนั้นอาจเป็นการโทรคุยเพื่อหลอกล่อ โดยจะเป็นแอปที่ทำออกมาหน้าตาเหมือนแอปที่อยู่ใน Play store เลย แต่จุดสังเกตเลยคือให้โหลดผ่านเว็บ ซึ่งจะมีการหลอกหลายรูปแบบ
ด้วยมือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android นั้นมีฟังก์ชัน Accessibility Service ที่สามารถวาดทับ หรือสามารถควบคุมเครื่องเหยื่อได้จากระยะไกลเพียงล่อให้กดยอมรับ โดยกระบวนการทำงานของมิจฉาชีพแอปดูดเงินก็จะเป็นดังนี้ ที่เป็นไปได้ที่สุด
ที่มา : เจาะลึก! แอปดูดเงิน ทำงานยังไง วิธีสังเกตและป้องกัน โดยนักพัฒนาแอป Android [1]
ในขั้นตอนของการ Remote Access ในปัจจุบัน นับว่าหลายธนาคารก็ไม่อนุญาตให้ ทำรายการเขียนทับหน้าจอได้แล้ว แนวคิดเดิมที่พยายามใช้แอปดูดเงินเข้ามาควบคุมและใช้งานแอปธนาคารก็ได้รับการป้องกันแล้ว จึงได้เกิดแนวทางใหม่ขึ้น โดยมีแอปเหมือนเดิมแต่เป็นแค่แอปเก็บข้อมูลเท่านั้น
ในเมื่อเหยื่อกว่าแสนคนที่เคยโดนหลอก ซึ่งก็ทำทุกอย่างที่แอปต้องการ ที่ลงทะเบียนตั้ง pin สแกนหน้า หรือแม้กระทั้งโอนไปเองก็มี ดังนั้นมิจฉาชีพที่สามารถหลอกคนให้เชื่อได้ขนาดนี้ โจรก็เลยใช้เครื่องตัวเองทำไปซะเลยโดยใช้ระบบเปลี่ยนมือถือของธนาคาร ที่ใช้แค่ เบอร์ เลขบัตรประชาชน PIN และ OTP เท่านั้น ซึ่งก็มีวิธีการที่ต่างจากเดิมเล็กน้อย
ที่มา : เจาะลึกกลโกงของแอปดูดเงิน ในยุค 2567 [2]
หลังจากนั้นธนาคารก็เพิ่มการบังคับสแกนหน้ามาหากโอนเกิน 5 หมื่น มิจก็เอาข้อมูลที่เราสแกนหน้าไปสแกนได้เลย ซึ่งในเมื่อมิจได้ใบหน้าไปธนาคารก็สู้ด้วยการอนุญาตให้การโอนเงินใช้งานด้วยสัญญาณ 4G เท่านั้น มิจก็เพิ่มฟังก์ชั่นในแอปดูดเงินในการ Reverse Proxy [3] เพื่อขอยืมสัญญาณเครื่องเหยื่อ และใช้ในการส่งข้อมูลการโอนไป เพื่อให้ระบบของธนาคารยอมรับได้ เหมือนเหยื่อส่งไปเองเลย
จากที่กล่าวมาเจ้า แอปดูดเงิน ก็เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อใช้ฟังก์ชั่นควบคุมจอ อาจเป็นนวัตกรรมแอปพลิเคชั่นในโลกของมิจฉาชีพ แต่หลักๆ แล้วคือการหลอกล่อให้เชื่อ จากกล่าวมาและเหยื่อที่มีมากเป็นหลักแสนคน จึงทำให้สรุปได้ว่าจริงๆ แล้วที่มิจเอาเงินไปได้ ก็เพราะเหยื่อหลงเชื่อ และคนที่หลงใช้ก็พร้อมที่จะทำตามที่มิจฉาชีพบอกหมดเลย ธนาคารจะแก้ทางยังไง หากเหยื่อเชื่อก็คงมีค่าเท่าเดิม
[1] droidsans. (January 20, 2023). เจาะลึก! แอปดูดเงิน ทำงานยังไง วิธีสังเกตและป้องกัน โดยนักพัฒนาแอป Android. Retrieved from droidsans
[2] medium. (February 22, 2024). เจาะลึกกลโกงของแอปดูดเงิน ในยุค 2567 (คุย 2 นาทีดูดเงินได้จริงหรือ). Retrieved from medium
[3] medium. (January 3, 2019). ความแตกต่างระหว่าง Proxy กับ Reverse Proxy. Retrieved from medium