ภาษีคริปโต เก็บยังไง ในบทความนี้จะมาแถลงไขเกี่ยวกับ รายละเอียดของภาษีคริปโต องค์การที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงภาพรวมและข้อควรรู้เกี่ยวกับการจ่ายภาษีคริปโต ให้สำหรับผู้ที่ซื้อขายเหรียญเก็งกำไร รวมไปถึงผู้ถือครองยาวๆ ในช่วง บิตคอยน์ ฟื้นตัว แบบนี้ ว่าจะต้องกำไรถึงกี่บาทจึงจะยื่นได้
กฎหมายที่ออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 ที่เป็นช่วงที่คริปโตกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ในโลกรวมถึงไทย ที่ทั้งมีการซื้อถือครอง และเทรดกันในกลุ่มใหญ่มากขึ้น ด้วยความที่เป็นสกุลเงินแบบใหม่ แถมยังมีการกระจายอำนาจ ที่ไม่มีหน่วยงานไหนควบคุมได้ ส่งผลให้ต้องมีการกำกับจากองค์กรของรัฐอย่าง ก.ล.ต.
ในการเก็บภาษี โดยมีการแก้ไขกฎหมายในฉบับที่ 19 เพิ่มเติมในมาตรา 40 และมาตรา 50 ให้นับรวมรายได้อีกสองประเภทเข้าไป คือรายได้จากโทเคนดิจิทัลและคริปโตฯ และกำไรจากการขายโทเคนดิจิทัลและคริปโตฯ [1]
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่มีหน้าที่หลักๆ เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลการลงทุนต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ ยกตัวอย่างเช่น การมีหุ้นที่กำลังถูกเสนอขายให้กับประชาชนทั่วไป องค์กรนี้ก็จะพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนจะอนุญาตได้ เป็นองค์กรอิสระ ก่อตั้งขึ้นในปี 2535 [2] โดยมีหน้าที่อีกหลายอย่างดังนี้เลย
ขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กำหนดตามกฎหมาย
ที่มา: ก.ล.ต. กับ อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย [3]
อาจเป็นกันทีรู้จักกันดีอยู่แล้วว่าคริปโตนั้นคืออะไร โดยในบทความนี้ที่พูดถึงเกี่ยวกับการเก็บภาษีคริปโต ซึ่งไม่ได้จัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกับการลงทุน เพราะด้วยระบบพื้นฐานของคริปโตกว่า 99% เป็นระบบที่กระจายอำนาจไม่มีใครครอบคลุม ยากที่จะระบุตัวตนเป็นรายคน ดังนั้นคริปโตจึงรวมอยู่กับภาษีประเภทรายได้จากการทำธุรกิจทั่วไป รายได้แบบเงินเดือน หรือค่าจ้างงานฟรีแลนซ์
ในการเรียกเก็บก็จะสามารถทำได้ ผ่านแพลตฟอร์มซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล ที่มีการยืนยันตัวตนผู้ซื้อได้อย่างการยืนยันแบบ KYC และอยู่ในการกำกับดูและของ ก.ล.ต. เท่านั้น ซึ่งก็จะสามารถยื่นจ่ายได้ และได้สิทธิ์ในการยื่นคือภาษี และประโยชน์อื่นๆ ด้วย
แน่นอนอยู่แล้วว่าการเสียภาษีเป็นหน้าที่ของคนในประเทศ ซึ่งหลายฝ่ายก็เห็นว่าการเก็บภาษีคริปโต ก็ยังเป็นอุปสรรคสำคัญ สำหรับการเติบโตของตลาดดิจิทัลเมืองไทย และถึงแม้ว่ากรมสรรพากรจะลดความตึงเครียดไปมาก ด้วยการสามารถนำขาดทุนมาหักลบกับกำไรได้ด้วย แต่ก็ยังไม่ถูกใจนักลงทุนอยู่ดี ซึ่งก็มีความน่ากังวลหลายอย่างดังนี้
ที่มา: ภาษียังกดดันคริปโตฯไทย แม้ไฟเขียวนำขาดทุนหักลบ [4]
ในการจ่ายภาษีคริปโต ของรูปแบบภาษีเงินได้นั้น ผู้จ่ายภาษีสามารถเลือกการจ่าย ผ่านการคำนวณเอากำไร และขาดทุนมาหักลบกันได้ด้วย ซึ่งก็สามารถคิดได้สองรูปแบบด้วยกัน และหากผู้ยื่นเสียภาษีเลือกรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาแล้ว ก็จะต้องเสียภาษีในรูปแบบการคำนวณนั้นๆ ไปตลอดปี โดยมีการคำนวณดังนี้
ที่มา: มีรายได้-กำไร-ขาดทุน จากคริปโตฯ ต้องเสียภาษีอย่างไร [5]
นอกจากจะมีการผอนปรนลงไปบ้างเกี่ยวกับ การนำผลขาดทุนมาหักกลบกับกำไรได้ในปีภาษีเดียวกันได้ เพียงแต่ต้องทำธุรกรรมผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.แล้ว ยังมีข้ออื่นๆ ที่นัดเทรดควรรู้ด้วย
เรื่องสำคัญสำหรับผู้ที่สามารถสร้างรายได้ในการเทรดคริปโต ที่อาจเป็นปัญหาในการทำกำไรไม่น้อย ทั้งยังมีหลายคน ที่หลบเลี่ยงการจ่ายไปใช้ในแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่อาจยุ่งยากกว่า แต่ก็สามารถรับกำไรแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยกว่านั่นเอง และต้องรอดูต่อไปว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของเปอร์เซ็นต์เป็นเท่าไหร่ และจะมีการผ่อนปรนอะไรอีกบ้าง
[1] thematter. (January 6, 2022). ภาษีคริปโตฯ เก็บยังไง? ใครต้องเสียภาษี? สรุปทุกคำถามควรรู้เกี่ยวกับ ‘ภาษีคริปโตฯ’. Retrieved from thematter
[2] longtunman. (June 17, 2019). ก.ล.ต. คือใคร. Retrieved from longtunman
[3] sec. (September 19, 2022). ก.ล.ต. กับ อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย. Retrieved from sec
[4] mgronline. (January 30, 2022). ภาษียังกดดันคริปโตฯไทย แม้ไฟเขียวนำขาดทุนหักลบ. Retrieved from mgronline
[5] thairathplus. (February 14, 2022). มีรายได้-กำไร-ขาดทุน จากคริปโตฯ ต้องเสียภาษีอย่างไร. Retrieved from thairath